คำถามที่พบบ่อย

คำถามเกี่ยวกับแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel)


 

1. แผงโซลาร์เซลล์ทำมาจากอะไร ?

ในปัจจุบันนิยมใช้ธาตุซิลิคอน (Si) ซึ่งเป็นธาตุที่มีมากที่สุดบนพื้นโลก มาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จนเกิดเป็นผลึกซิลิคอน (Crystalline Silicon) ที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ หลังจากนั้นจึงนำมาใช้ เป็นวัสดุหลักเพื่อผลิตแผงโซลาร์เซลล์

นอกจากนี้ ยังมีวัสดุอื่นๆ ที่สามารถนำมาผลิตโซลาร์เซลล์ได้ เช่น แกลเลียม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Di selenide) เป็นต้น

 

 


 

2. แผงโซลาร์เซลล์มีกี่ชนิด ?

แผงโซลาร์เซลล์มี 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ แบบ N-type และ P-type

1. N-Type

  • ผลิตจากวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ชนิด N-type ที่มีอิเล็กตรอนเป็นตัวพาประจุหลัก
  • มีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าสูงกว่า P-type โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อยหรือมีเมฆมาก
    มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่ร้อนและชื้นได้ดีกว่า P-type
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า P-type

2. P-Type

  • ผลิตจากวัสดุเซมิคอนดักเตอร์ชนิด P-type ที่มีโฮสเป็นตัวพาประจุหลัก
  • มีราคาถูกกว่าและมีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานไฟฟ้าสูงกว่า N-type ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงแดดจัด
  • มีความทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่า N-type
  • มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า N-type

 

 


 

3. หลังคาประเภทไหนที่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้ ?

สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้บนหลังคาเกือบทุกประเภท ยกเว้น หลังคาสังกะสี หลังคาลอนคู่ที่มีอายุมากกว่า 10 ปี และหลังคาที่มีความชัน
สูงเกินกว่า 60 องศา ที่ไม่แนะนำให้ทำการติดตั้ง

 

 


 

4. ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์หลังการติดตั้งอย่างไร ทำเองได้หรือไม่ ?

ปกติแล้วน้ำฝนที่ตกลงมาและความลาดเอียงของการติดตั้งจะทำให้ฝุ่นละอองต่างๆ ได้รับการชะล้างโดยธรรมชาติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากต้องการที่จะทำความสะอาดแผงเองก็สามารถทำได้ เพียงฉีดน้ำขึ้นเป็นละอองคล้ายฝนตก โดยฉีดเฉพาะบริเวณที่เป็นกระจกนิรภัย หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำเข้าบริเวณใต้แผงโซลาร์เซลล์ และควรล้างในช่วงที่ไม่มีแดด

อย่างไรก็ตาม ตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์ของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดการใช้งาน

 

 


 

5. สาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ลดลงมีอะไรบ้าง ?

  • เมื่อมีวัตถุบางอย่างบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่งมายังแผงโซลาร์เซลล์ เช่น ฝุ่น เมฆ ใบไม้
  • เมื่อความลาดเอียงของการติดตั้งไม่เหมาะสม โดยปกติความลาดเอียงที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 30-40 องศา 

สิ่งเหล่านี้จะทำให้แผงโซลาร์เซลล์ไม่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่และส่งผลให้ ประสิทธิภาพการทำงานของแผงลดลง

อย่างไรก็ตาม ตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้
แผงโซลาร์เซลล์ของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดการใช้งาน

 

 


 

6. แผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานนานแค่ไหน ?

แผงโซลาร์เซลล์ส่วนมากมีอายุการใช้งานประมาณ 25 – 30 ปี ประสิทธิภาพจะลดลงตามอายุการใช้งานและการบำรุงรักษา

โดยทั่วไป แผงโซลาร์เซลล์จะมีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้งานได้ถึง 25 ปี สำหรับแบบ P-Type และ 30 ปี สำหรับแบบ N-Type
โดยในระยะเวลาดังกล่าวจะรับประกันประสิทธิภาพการใช้งานไม่ต่ำกว่า 80%

 

 


 

7. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ไหนได้บ้าง ?

สามารถติดได้ทุกที่ที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึง โดยส่วนมากที่นิยมติดตั้งคือบนพื้นดิน บนหลังคาบ้าน บนหลังคาจอดรถ (Carport) รวมถึงบนกันสาด
(Canopy) และยิ่งไปกว่านั้นคือสามารถติดตั้งบนน้ำ (Floating Solar) ได้อีกด้วย

 

 


 

8. ทิศไหนเหมาะสมที่สุดสำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ?

เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรติดตั้งโดยหันแผงไปทางทิศใต้ และทำมุมเอียง 10-15 องศา หากไม่มีความจำเป็นควรหลีกเลี่ยงการหันแผง
ไปทางทิศเหนือ และควรติดตั้งแผงในจุดที่ไม่มีร่มเงาต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างบัง

 

 


 

9. แผงโซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์ล่อฟ้าหรือไม่ ?

แผงโซลาร์เซลล์ไม่ใช่อุปกรณ์ล่อฟ้า ดังนั้นในการติดตั้งแผงจะไม่ได้เพิ่มโอกาสให้เกิดฟ้าผ่าบนหลังคาบ้านของเรา

 

 


 

10. หากโดนฟ้าผ่า แผงโซลาร์เซลล์จะมีระบบป้องกันหรือไม่ ?

ระบบของแผงโซลาร์เซลล์ถูกออกแบบให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่าในตัว ซึ่งเป็นไปตามหลักวิศวกรรม นอกจากนี้ ในการติดตั้งยังมีการวางระบบ
โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และยังมีการติดตั้งสายดินเพื่อเป็นการป้องกันฟ้าผ่าเพิ่มเติมอีกด้วย

 

 


 

11. การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ทำให้อาคารร้อนขึ้นจริงหรือไม่ ?

การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาไม่ได้ทำให้ภายในอาคารร้อนขึ้น แต่จะช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร และลดการทำงานของระบบปรับอากาศ
ได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะแผงโซลาร์เซลล์จะเป็นปราการแรกที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์ จึงสามารถช่วยกรองแสงส่วนหนึ่งได้ก่อนที่ความร้อน
และแสงจะส่องถึงหลังคาอาคาร

 

 


คำถามเกี่ยวกับเครื่องชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้า (EV Charger)


 

1. เครื่องชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท ?

เครื่องชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้ามีอยู่ 2 ประเภทหลัก ได้แก่ :

1. AC Charger

  • ชาร์จไฟแบบช้า โดยจะใช้เวลาชาร์จประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
  • เหมาะสำหรับติดตั้งที่บ้านหรืออาคาร

2. DC Charger

  • ชาร์จไฟแบบเร็ว โดยจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง
  • เหมาะสำหรับติดตั้งตามสถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า หรือจุดพักระหว่างทาง

 

 


 

2. การชาร์จแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าใช้เวลานานแค่ไหน ?

ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้าและขนาดแบตเตอรี่รถ

  • AC Charger ใช้เวลาประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
  • DC Charger ใช้เวลาประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง

ตัวอย่าง : รถยนตร์ Tesla Model 3 ที่มีความจุแบตเตอรี่ 50kwh

  • ชาร์จด้วยเครื่อง AC Charger 22kW จะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง 15 นาที
  • ชาร์จด้วยเครื่อง DC Charger 100 kW จะใช้เวลาประมาณ 21 นาที

 

 


 

3. การชาร์จแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?

ค่าใช้จ่ายนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของเครื่องชาร์จ หน่วยไฟฟ้าที่ใช้ หรือผู้ให้บริการสถานีชาร์จ โดยเฉลี่ยแล้ว
ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 5 – 8 บาท / กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh)

 

 


 

4. การติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนตร์ไฟฟ้าที่บ้าน มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?

ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องชาร์จ และขนาดของแบตเตอรี่รถ

  • AC Charger ราคาประมาณ 5,000 – 20,000 บาท
  • DC Charger ราคาประมาณ 100,000 – 400,000 บาท

 

 


 

5. ควรใช้เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าขนาดใดให้เหมาะสมกับรถยนต์ไฟฟ้า ?

สามารถดูได้จากขนาดของ on-board charger (หน่วย kW) ของรถยนต์ เนื่องจากความเร็วในการชาร์จจะขึ้นอยู่กับส่วนนี้
ตัวอย่าง : on-board charger = 7.2 kW ควรเลือกใช้เครื่องชาร์จขนาด 7.4 kW

 

 


 

6. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่แนะนำ สำหรับคนที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ?

โดยปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟ
ได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน

แนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป
**สำหรับคนที่คิดว่าต้องเปลี่ยนระบบไฟเป็น 3 เฟสรึเปล่า? คำตอบคือ “ไม่จำเป็น” เนื่องจากถ้าบ้านไม่มีการใช้งานไฟฟ้ามากเกินไป
การใช้ไฟ 1 เฟสก็เพียงพอ

 

 


 

7. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox สามารถติดตั้งนอกอาคารได้ไหม ?

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox มีประสิทธิภาพในการกันน้ำและฝุ่นได้ (IP55) โดยสามารถติดตั้งภายนอกอาคาร และชาร์จในขณะที่ฝนตก
ตัวเครื่องและสายชาร์จสามารถโดนน้ำได้แต่ไม่ควรให้หัวชาร์จโดนน้ำ เพราะอาจทำให้สายชาร์จชื้น และส่งผลให้อายุการใช้งานของสายชาร์จลดลง

ทางที่ดีเมื่อมีการเลิกใช้งานเครื่องชาร์จแล้ว ควรนำหัวชาร์จเก็บเข้าที่จัดเก็บหัวชาร์จให้เรียบร้อย หรือนำปลอกหัวชาร์จมาปิด
เพื่อยืดอายุการใช้งานของหัวชาร์จ

อย่างไรก็ตาม ทีมผู้เชี่ยวชาญจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดพร้อมกับเดินสาย ground ให้อยู่แล้ว เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

 

 


คำถามเกี่ยวกับลูกถ้วยไฟฟ้า (Porcelain Insulators)


 

1. ควรเลือกใช้ลูกถ้วยไฟฟ้าอย่างไร ?

การเลือกใช้ลูกถ้วยไฟฟ้าควรพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ สภาพแวดล้อมที่ใช้งาน และมาตรฐานความปลอดภัย
ในการเลือกควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับอุปกรณ์ที่เหมาะสม

 

 


 

2. ลูกถ้วยไฟฟ้าต้องมีการบำรุงรักษาอย่างไร ?

ลูกถ้วยไฟฟ้าต้องมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การตรวจสอบการสึกหรอ
และความสะอาดรวมถึงการเปลี่ยนลูกถ้วยที่เสื่อมสภาพ

 

 


 

3. สามารถติดตั้งลูกถ้วยไฟฟ้าเองได้หรือไม่ อย่างไร ?

การติดตั้งลูกถ้วยไฟฟ้าต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ ในการติดตั้งต้องมีการตรวจสอบสภาพเสาและสายไฟ
รวมถึงการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการติดตั้ง

 

 


คำถามเกี่ยวกับอุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้า (Snake Guard)


 

1. สามารถติดตั้งอุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้าเองได้ไหม ?

หากไม่มีประสบการณ์ในการติดตั้ง แนะนำให้ใช้บริการจากช่างผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อให้การติดตั้งเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

 


 

2. อุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้า ใช้วัสดุอะไร ?

ผลิตจากพลาสติกวิศวกรรม (Engineering Plastic) และยางพลาสติก (Plastic Rubber)
ที่มีความทนทานสูงต่อสภาพอากาศและการกัดกร่อน

 

 


 

3. อุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้ามีขนาดใดบ้าง ?

สามารถติดตั้งบนเสาไฟฟ้าขนาด 12, 14 และ 22 ได้

สามารถปรับขนาดเพื่อให้พอดีกับเสาได้ ดังนี้:

  • ขนาดเล็กสุดที่ปรับได้ คือ 70 x 70 ซม. โดยมีพื้นที่สี่เหลี่ยมภายในเพื่อติดกับเสาไฟฟ้าอยู่ที่ 18.5 x 18.5 ซม.
  • ขนาดเล็กใหญ่ที่ปรับได้ คือ 84 x 84 ซม. โดยมีพื้นที่สี่เหลี่ยมภายในเพื่อติดกับเสาไฟฟ้าอยู่ที่ 31.5 x 31.5 ซม.

 

 


 

4. อุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้ามีการรับประกันไหม ?

มีการรับประกันสินค้า โดยแต่ละรุ่นมีระยะเวลาการรับประกันแตกต่างกัน ตั้งแต่ 2 – 5 ปี

 

 


 

5. การบำรุงรักษาอุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้า

เพียงแค่ตรวจสอบความเสียหายหรือสิ่งสกปรกเป็นระยะ และทำความสะอาดตามความจำเป็น

 

 


 

6. อุปกรณ์กันงูสำหรับเสาไฟฟ้าสามารถป้องกันสัตว์อื่น ๆ ได้ด้วยหรือไม่ ?

ได้ ถึงแม้ว่าในการเริ่มต้นจะถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันงู แตก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันสัตว์อื่น ๆ เช่น หนู
หรือนกที่อาจก่อให้เกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าเช่นเดียวกัน

 

 


 

คำถามเกี่ยวกับสายไฟ (Cable)


 

1. ขนาดและจำนวนแกนของสายไฟ ดูอย่างไร ?

ขนาดของสายไฟ = พื้นที่หน้าตัดของตัวนำ (หน่วย : ตร.มม.) เช่น 2×4 sq.mm หมายถึง มี 2 แกน แต่ละแกนมีพื้นที่หน้าตัดของตัวนำ 4 ตร.มม.

 


 

2. ตัวนำทองแดงกับตัวนำอลูมิเนียม มีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร ?

ตัวนำทองแดง :

  • มีค่าความนำไฟฟ้าสูงกว่า (100%IACS)
  • มีจุดหลอมเหลวสูงกว่า (1,083°C)
  • มีน้ำหนักมากกว่า (Density 8.89 g/cm³)

ตัวนำอลูมิเนียม :

  • มีค่าความนำไฟฟ้าต่ำกว่า (61%IACS)
  • จุดหลอมเหลวต่ำกว่า (659°C)
  • มีน้ำหนักเบากว่า (Density 2.7 g/cm3)

 

 


 

3. สายไฟที่มีฉนวน PVC กับฉนวน XLPE มีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร ?

ฉนวน PVC ทนอุณหภูมิสูงสุดต่อเนื่องได้ 70°C ในขณะที่ฉนวน XLPE ทนอุณหภูมิสูงสุดต่อเนื่องได้ 90°C ดังนั้น สายที่มีฉนวน XLPE
จะนำกระแสได้มากกว่าฉนวน PVC ที่ขนาดตัวนำเท่ากัน

 

 


 

4. สายไฟที่มีเปลือก PVC กับเปลือก PE มีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร ?

สายที่มีเปลือก PVC :

  • มีความอ่อนตัว
  • ยืดหยุ่นได้ดี
  • ทนต่อสารเคมีได้ดี

สายที่มีเปลือก PE :

  • มีความแข็ง
  • ทนต่อการขีดข่วน
  • ทนความชื้นได้ดี

 

 


 

5. สายหน่วงไฟ (Flame retardant cable : FR) มีคุณสมบัติ และการใช้งานอย่างไร ?

เป็นสายไฟที่เมื่อถูกไฟไหม้ไฟจะลุกลามไม่มากเมื่อเทียบกับสายไฟโดยทั่วไป ใช้กับระบบไฟฟ้าทั่วไป หรือบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเพลิงไหม้

 

 


 

6. สายทนไฟ (Fire resistance cable : FRC) มีคุณสมบัติ และการใช้งานอย่างไร ?

คุณสมบัติโดยทั่วไปเหมือนสายหน่วงไฟ แต่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งในขณะที่ถูกไฟไหม้ ใช้กับระบบช่วยชีวิตต่างๆ
เช่น ระบบไฟฉุกเฉิน ระบบสัญญาณเตือนภัย ระบบป้องกันอัคคีภัย เป็นต้น

 

 


 

7. สายไฟมีอายุการใช้งานนานเท่าไร ?

อย่างน้อย 20 ปี

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ :

  1. การติดตั้ง และการใช้งานอย่างถูกวิธี
  2. พิกัดแรงดัน และกระแสที่ใช้งาน
  3. แรงกระทำทางกลต่อสาย เช่น แรงกระแทก การดัดโค้งงอ การบิด หรือการสั่นสะเทือน เป็นต้น
  4. สภาพแวดล้อมที่ติดตั้งใช้งาน

 

 


คำถามเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer)


 

1. วิธีการเลือกหม้อแปลงไฟฟ้าให้เหมาะกับการใช้งาน ?

ควรพิจารณาดังนี้

  1. กำลังไฟฟ้าที่ต้องการ : เลือกหม้อแปลงที่มีกำลังไฟฟ้าเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น 500 kVA, 2000 kVA
  2. ประเภทการใช้งาน : พิจารณาว่าจะใช้ในสถานีไฟฟ้า อาคารสูง ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ หรืออื่น ๆ
  3. คุณสมบัติพิเศษ : หากต้องการหม้อแปลงที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ทนทานต่อการสั่นสะเทือนหรือป้องกันน้ำ ควรเลือกหม้อแปลงที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับงานนั้น ๆ

 

 


 

2. หม้อแปลงไฟฟ้ามีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่ ?

หม้อแปลงไฟฟ้ามีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 20 – 30 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและสภาพการใช้งาน หากมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
และใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หม้อแปลงไฟฟ้าสามารถใช้งานได้นานขึ้น

 

 


 

3. หม้อแปลงแบบจุ่มน้ำมัน (Oil Immersed Transformer)
มีคุณสมบัติอย่างไร ?

  1. ระบายความร้อนได้ดี : น้ำมันที่ใช้ในหม้อแปลงจะช่วยระบายความร้อนจากขดลวดและอุปกรณ์ภายใน
  2. ความทนทานสูง : หม้อแปลงแบบจุ่มน้ำมันมีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมและสามารถใช้งานได้นาน
  3. ประสิทธิภาพสูง : มีประสิทธิภาพในการแปลงและส่งกำลังไฟฟ้าได้ดี ทำให้การจ่ายไฟฟ้าเป็นไปอย่างเสถียร