สายเมนไฟฟ้าคืออะไร ใช้งานกับบ้าน อาคาร หรือโรงงานยังไงให้เหมาะสม?

สายเมนไฟ คืออะไร
การติดตั้งระบบไฟฟ้า สายไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเลือกให้ดีเพราะมีส่วนต่อระบบการจ่ายไฟเข้าสู่ระบบไม่น้อย และไม่ใช่แค่เรื่องของความเสถียรจากแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย การเลือกสายไฟในแต่ละจุดจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกสายไฟเมน หรือสายประธานเข้าบ้านที่เป็นจุดเริ่มต้นของความปลอดภัยและให้ประสิทธิภาพกับระบบไฟฟ้าได้อย่างที่ต้องการ

เลือกอ่าน

สายไฟเมน คืออะไร?

สายไฟเมนหรือสายเมนไฟฟ้า ที่บางคนเรียกกันว่าเป็นสายประธาน คือตัวกลางที่คอยทำหน้าที่ในการส่งกระแสไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ทำให้การไหลของกระแสไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีระบบ ปลอดภัย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการเดินสายไฟเข้าสู่ตัวบ้าน โดยสายเมนนั้นจะถูกเชื่อมต่อจากมิเตอร์ไฟฟ้าเข้าสู่เมนสวิตช์ที่อยู่ในบ้าน อาคาร หรือภายในโรงงาน การเลือกใช้ขนาดสายไฟเมนเข้าบ้านจึงต้องมีขนาดใหญ่และมีคุณสมบัติในการรองรับการกระแสไฟฟ้าแรงสูงด้วย

ประเภทของสายเมนไฟฟ้า

คุณสมบัติของสายไฟเมนที่ควรเลือกใช้ 

สายเมนไฟฟ้านั้นเปรียบเหมือนถนนเส้นหลักที่กระแสไฟฟ้าใช้ในการเดินทาง ดังนั้นถนนเส้นหลักสายนี้จึงต้องมีความเสถียรมากที่สุด เพื่อให้กระแสไฟฟ้าสามารถเดินทางเข้าสู่แผงเมนสวิตช์ได้อย่างราบรื่น โดยคุณสมบัติของสายเมนที่เหมาะต่อการใช้งานทั้งในบ้าน อาคาร หรือในโรงงาน คือ

  • ขนาดสายไฟเมนเข้าบ้านต้องเพียงพอต่อการรับโหลดของกระแสไฟฟ้าแรงสูงได้
  • ต้องทนต่อแรงดันไฟฟ้า เพื่อให้การส่งกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นได้มีประสิทธิภาพและไม่รั่วไหล 
  • มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงและต่ำ หรือความชื้นสูง 
  • มีความยืดหยุ่นเพื่อให้การติดตั้งเป็นไปโดยสะดวกมากที่สุด
  • ทนต่อการกัดกร่อน
  • สายไฟเมนที่เดินเข้าภายในอาคารต้องเป็นชนิดตัวนำทองแดงเท่านั้น 

สายเมนไฟฟ้าเข้าบ้าน ควรเลือกใช้เบอร์อะไร?

การใช้งานไฟฟ้าในบ้าน สายเมนไฟฟ้าที่ใช้จะต้องเป็นชนิดที่มีตัวนำทองแดงหุ้มฉนวน และขนาดที่ใช้ต้องเพียงพอต่อการโหลดรวมจากทุกวงจรภายในบ้าน เช่น ขนาดของสายไฟเมนเข้าบ้านไม่น้อยกว่า 10 ตร.มม. สำหรับมิเตอร์แบบ 15(45A) หรือมิเตอร์แบบ 30(100A) สายเมนไฟฟ้าที่ควรเลือกใช้ต้องไม่น้อยกว่า 25 ตร.มม. ดังนั้นการเลือกใช้สายไฟเข้าสู่ตัวบ้านจึงต้องอิงกับขนาดของมิเตอร์ที่ใช้ด้วย จะช่วยให้เลือกขนาดสายไฟเมนเข้าบ้านได้ง่ายและใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ข้อควรรู้ในการเลือกใช้สายเมนไฟฟ้า

นอกจากเรื่องของคุณสมบัติที่ใช้ในการเลือกใช้สายเมนไฟฟ้าแล้ว ยังมีข้อควรรู้ที่มีความสำคัญในการเลือกใช้สายไฟเมนด้วยเหมือนกัน ตามรายละเอียดต่อไปนี้ 

  • สายเมนไฟต้องเลือกใช้หนึ่งชุดต่อผู้ใช้หนึ่งรายเท่านั้น
  • ขนาดของสายเมนต้องรองรับโหลดทั้งหมดได้ 
  • เลือกใช้ได้ทั้งแบบสายเมนระบบสายใต้ดิน และระบบสายอากาศต่อเข้าอาคาร
  • สายเมนไฟฟ้าต้องพิจารณาเลือกติดตั้งตามมาตรฐานและการติดตั้งของ วสท. 
  • การรองรับกระแสไฟฟ้าของตัวนำสายเมนต้องรองรับได้ไม่น้อยกว่า 25 เท่าของจำนวนการโหลดสูงสุดของมิเตอร์ไฟฟ้า
มาตรฐานสายเมนไฟฟ้า

สายเมนไฟฟ้า เลือกใช้ได้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง?

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าสายเมนเข้าบ้านที่ใช้ควรใช้สายอะไร หรือสายประเภทไหนได้บ้าง เพราะมีสายไฟฟ้าอยู่มากมายหลายประเภทให้เลือกใช้งาน โดยสายไฟเมนที่สามารถใช้งานภายในอาคาร บ้าน หรือโรงงานนั้นมีอยู่ 3 ประเภท คือ 

1. สายไฟ THW

สำหรับสายประเภทนี้จะเป็นสายที่มีตัวนำหุ้มฉนวนชั้นเดียว การติดตั้งต้องรอยท่อหรือเดินในรางเนื่องจากไม่มีเปลือกนอกช่วยป้องกันสภาพแวดล้อม และยังเป็นสายเมนไฟฟ้าที่ไม่ควรใช้แบบฝังดินด้วย แต่ข้อดีของสาย THW คือมีหลายสีรองรับกับการใช้งานที่หลากหลายตามมาตรฐาน มอก.ไทย เช่น ในบ้านที่ใช้ระบบไฟแบบ 3 เฟส เป็นต้น 

 

2. สายไฟ NYY 

สายเมนไฟฟ้าแบบฉนวน 2 ชั้น มีคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันสภาพแวดล้อมได้ดีเนื่องจากมีเปลือก PVC ที่หนา เหมาะใช้สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีการป้องกันทางกายภาพ เช่น เดินแบบร้อยสาย ฝังดิน หรือบนรางเคเบิลไม่มีฝาปิด

 

3. สายไฟ CV 

สายไฟ CV นั้นเป็นสายไฟที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่า NYY และเป็นสายไฟที่ใช้ฉนวนแบบ XLPE จึงมีคุณสมบัติในการต้านทานสภาพแวดล้อมได้ดี เหมาะใช้สำหรับเป็นสายไฟเมนติดตั้งในบ้านและอาคาร โดยการเดินสายต้องใช้ในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิดจะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานได้ดีที่สุด

สายไฟฟ้า CV คุณภาพสูงจาก Nutthaphume Equipment

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการเดินสายเมนไฟฟ้าเข้าบ้าน

เมื่อทราบถึงประเภทและสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อให้เลือกสายเมนไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ก่อนติดตั้งยังมีข้อควรรู้เกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานในการติดตั้งสายเมนไฟฟ้าเข้าบ้านด้วย ดังนี้ 

1. ระยะห่างของสายไฟฟ้า

ตามมาตรฐานของการเดินสายเมนไฟฟ้าเข้าบ้านนั้นมีการกำหนดระยะห่างที่เหมาะสมเอาไว้เพื่อความปลอดภัย โดยกำหนดให้รางสายไฟห่างจากพื้นไม่น้อยกว่า 30 ซม. ห่างจากท่อน้ำ 10 ซม. ท่อประปา 3 ซม. ท่อแก๊ส 5 ซม. และผนังกับฝ้าเพดานอย่างน้อย 1 ซม. เพื่อความปลอดภัย

 

2. ชนิดของสายไฟฟ้า

สายเมนไฟฟ้าที่ใช้ต้องเป็นสายที่หุ้มฉนวน PVC มีคุณสมบัติทนไฟ และเป็นสายแรงดันต่ำตามมาตรฐาน มอก. 11-2531 หรือ TIS-11-2531 ต้องสามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ที่ 300 – 750 โวลต์ ตามระบบเฟสของบ้านหรือที่พักอาศัย

สายไฟฟ้าคุณภาพสูงจาก Nutthaphume Equipment

3. ขนาดของสายไฟฟ้า

คำนวณหาขนาดที่เพียงพอต่อโหลดสูงสุดที่ใช้งานจริง โดยใช้สูตร “กระแสไฟฟ้าสูงสุด = กำลังไฟฟ้า/แรงดันไฟฟ้า” เมื่อทราบถึงจำนวนโหลดสูงสุดแล้วจะสามารถเลือกหาขนาดสายไฟเมนเข้าบ้านให้เหมาะสมได้

 

4. การต่อสายไฟฟ้า

ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานและเหมาะกับการเดินสายเมนไฟฟ้า ทั้งขนาดและลักษณะการใช้งาน เช่น แค็ปแลนใช้สำหรับสายไฟเปลือย เทอร์มินัลบล็อกสำหรับสายไฟที่มีฉนวน หรือบล็อกสำหรับต่อสายไฟชนิดที่มีฉนวนแยกหลายเส้น

 

5. การติดตั้งสายไฟฟ้า

การเดินสายไฟฟ้าต้องควบคุมดูแลโดยวิศวกรไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ทั้งการเดินสายเมนไฟฟ้าจากเสาไปยังมิเตอร์ไฟฟ้า การเดินสายต่อจากมิเตอร์ไปยังตู้ไฟฟ้า และการเดินสายไฟฟ้าจากตู้ไฟฟ้าไปยังเต้ารับและพ่วงต่อไปยังจุดติดตั้งไฟฟ้าภายในบ้าน

ออกแบบ ติดตั้งงานระบบไฟฟ้าแรงสูง/แรงต่ำ ด้วยทีมวิศวกรไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญกับ Nutthaphume Engineering

ขนาดสายเมนไฟฟ้าเข้าบ้าน

สายเมนไฟฟ้า จุดเริ่มต้นของความปลอดภัย และการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นว่า สายเมนไฟนับว่าเป็นส่วนสำคัญของการใช้งานระบบไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้านและอาคาร เพราะเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของการนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวบ้าน เมื่อจุดเริ่มต้นดี การส่งผ่านกระแสไฟฟ้าภายในบ้านและส่วนต่าง ๆ ก็จะดีตามไปด้วย ดังนั้น การเลือกใช้สายเมนไฟฟ้าให้เหมาะสมกับทั้งจำนวนโหลดหรือกระแสไฟฟ้าทั้งหมด การเลือกตามคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับใช้งานตามสภาพแวดล้อมจริง และปฏิบัติตามมาตรฐานการเดินสายไฟเมนเข้าบ้าน ทั้งหมดนี้คือเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพของการทำงาน และได้รับความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าได้มากที่สุด

ผลิตภัณฑ์ของ ณัฐภูมิ อีควิปเม้นท์

<p>ระบบโซลาร์เซลล์</p>

ระบบโซลาร์เซลล์

<p>เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า</p>

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

<p>อุปกรณ์ไฟฟ้า</p>

อุปกรณ์ไฟฟ้า