สีมาตรฐานของสายไฟฟ้ามีอะไรบ้าง เลือกใช้อย่างไรให้ปลอดภัย?

ทำความเข้าใจมาตรฐานสีของสายไฟฟ้า เพื่อการติดตั้งและใช้งานอย่างปลอดภัย

มาตรฐานสายไฟฟ้า มีสายไฟฟ้าหลายสี เช่นสีเทา สีฟ้า สีม่วง
ในการใช้งานอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง หรือการจ่ายกระแสไฟฟ้า สิ่งที่เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับงานไฟฟ้าที่เห็นกันจนชินตามากที่สุดคงจะต้องยกให้เป็น สายไฟ (Cables) เพราะตามมาตรฐานสายไฟฟ้าที่ใช้กันในปัจจุบันจะคอยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านกำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยังโหลด เพื่อให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือมีแสงสว่างจากหลอดไฟที่ใช้กันในชีวิตประจำวันนั่นเอง

เลือกอ่าน

มาตรฐานสายไฟที่ดีเป็นอย่างไร?

สำหรับใครที่เคยไปเลือกซื้อสายไฟด้วยตัวเอง คงจะเคยเห็นมาบ้างแล้วว่าสายไฟที่มีขายนั้นมีอยู่หลายแบบหลายสี แล้วแบบไหนถึงเรียกว่าเป็นชนิดของสายไฟมาตรฐานใหม่? โดยสายไฟที่นำมาใช้งานและติดตั้งในงานระบบไฟฟ้าของไทยนั้น ต้องเป็นสายไฟที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ฉบับล่าสุด ซึ่งจะต้องระบุเป็น มาตรฐานเลขที่ มอก.11-2553 โดยสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนก็จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานบังคับตามประกาศพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หากมีการใช้ชนิดของสายไฟที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่ในการติดตั้ง จะถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายทันที

สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน

ความหมายของรหัสบนสายไฟมาตรฐาน

เพื่อให้วิศวกรไฟฟ้า หรือผู้ติดตั้งสายไฟฟ้าสามารถเลือกประเภทและรูปแบบมาตรฐานสายไฟได้เหมาะสม จึงมีการแบ่งชนิดของสายไฟตามมาตรฐานใหม่ขึ้น โดยจะระบุเป็นรหัสที่ปรากฏบนสายไฟตามรายละเอียดดังนี้

  • สายไฟ 60227 IEC 01 (THW) : ชื่อทางการตามมาตรฐาน มอก.60227 IEC 01 โดย THW หมายถึง Thermoplastic Heat and Water Resistant Insulated Wire
  • สายไฟ NYY : N คือ มาตรฐาน VDE, Y คือ ฉนวนเป็น PVC และ Y คือ เปลือกสายไฟเป็น PVC
  • สายไฟ VAF : V หมายถึงเปลือกสายไฟ PVC, A หมายถึงวัสดุเป็นลวดทองแดงอบอ่อน และ F หมายถึงสายแบบแบน
  • สายไฟ VCT : V หมายถึงเปลือกเป็น PVC และ CT คือสาย Cabtyre Cable

รหัสสีสายไฟมาตรฐาน

นอกจากรหัสชื่อที่เป็นไปตามมาตรฐานสายไฟฟ้าแบบล่าสุดแล้ว ยังมีรหัสสีสายไฟที่เป็นตัวกำหนดประเภทของสายไฟเพื่อให้เลือกใช้ได้เหมาะกับประเภทและเฟสด้วย ซึ่งสีของสายไฟตามการแบ่งของ มอก.11-2553 นั้นระบุว่าการแสดงด้วยสีต้องไม่เกิน 5 แกน ต้องหลีกเลี่ยงสีขาวและสีแดง โดยกำหนดรูปแบบรหัสสีเอาไว้ ดังนี้

  • สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว : ไม่กำหนดสี 
สายไฟฟ้าแกนเดี่ยว
  • สายไฟฟ้า 2 แกน : สีน้ำตาล (L) และสีฟ้า (N)
สายไฟฟ้า 2 แกน
  • สายไฟฟ้า 3 แกน (แบบมีสายดิน) : สีฟ้า (N) สีน้ำตาล (L) และสีเขียวแถบเหลือง (G)
  • สายไฟฟ้า 3 แกน (แบบไม่มีสายดิน) : สีดำ (L2) สีเทา (L3) และสีน้ำตาล (L)
สายไฟฟ้า 3 แกน
  • สายไฟฟ้า 4 แกน (แบบมีสายดิน) : สีน้ำตาล (L) สีดำ (L2) สีเทา (L3) และสีเขียวแถบเหลือง (G)
  • สายไฟฟ้า 4 แกน (แบบไม่มีสายดิน) : สีน้ำตาล (L) สีฟ้า (N) สีดำ (L2) และสีเทา (L3)
  • สายไฟฟ้า 5 แกน : สีฟ้า (N) สีน้ำตาล (L) สีเขียวแถบเหลือง (G) สีดำ (L2) และสีเทา (L3)

นอกจากจะระบุแกนของสายไฟฟ้าตามมาตรฐานแล้ว ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการมาตรฐานสีสายไฟฟ้าล่าสุดโดยแบ่งตามระบบเฟส ดังนี้

ระบบ 1 เฟส (220 v.)

  • สายสำหรับเฟส = สีน้ำตาล (L)
  • สายสำหรับนิวทรัล = สีฟ้า (N)
  • สายสำหรับสายดิน = สีเขียวแถบเหลือง (G)

ระบบ 3 เฟส (380 v.)

  • สายสำหรับเฟสที่ 1 = สีน้ำตาล (L1)
  • สายสำหรับเฟสที่ 2 = สีดำ (L2)
  • สายสำหรับเฟสที่ 3 = สีเทา (L3)
  • สายนิวทรัล = สีฟ้า (N)
  • สายสำหรับสายดิน = สีเขียวแถบเหลือง (G)

ทั้งนี้นอกจากการเลือกใช้สายไฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2553 แล้ว ในงานที่เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซมอาคารนั้น ทางวิศวกรไฟฟ้าจะต้องมีการแยกมาตรฐานสายไฟฟ้าที่เพิ่งติดตั้งล่าสุดกับสายไฟมาตรฐานเดิมที่มีอยู่ให้ชัดเจน อาจใช้การทำเครื่องหมายกำกับเอาไว้ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจและความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ามากขึ้นได้

สีมาตรฐานสายไฟฟ้า

ประเภทของสายไฟตามมาตรฐาน

เพื่อให้เลือกใช้สายไฟตามมาตรฐานได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากการสังเกตรหัสของสายไฟและเลข มอก.11-2553 แล้วการเลือกสายไฟตามประเภทของฉนวนและชนิดตัวนำก็จะช่วยให้เลือกใช้สายไฟมาตรฐานได้ตรงกับการใช้งานได้ง่ายขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้จาก ฉนวน ประเภทและตัวนำ ดังนี้

1. สายไฟฟ้าเปลือย

สายไฟฟ้าเปลือย

สายไฟฟ้าแบบเปลือยนิยมใช้กับระบบไฟฟ้าแรงดันสูง เพราะมีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง ส่วนใหญ่แล้ววัสดุหลักเป็นอะลูมิเนียมแล้วเสริมวัสดุประเภทอื่นหรือเสริมแกนเหล็กเข้าไป เพื่อให้รองรับแรงดึงได้มากขึ้น

 

2. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวน

สายไฟฟ้าหุ้มฉนวน

สำหรับสายไฟชนิดนี้เป็นมาตรฐานสายไฟฟ้าที่ใช้ได้ทั้งกับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำและแรงดันสูง ลักษณะเป็นสายไฟที่มีฉนวนหุ้มรอบตัวนำไฟฟ้า และมักทำจากยางหรือพลาสติกโพลิเมอร์ ทำให้มีค่าความต้านทานไฟฟ้าสูง

3. สายไฟฟ้าชนิดพิเศษ

สายไฟฟ้าที่มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษเพื่อใช้ในการจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบวงจรไฟฟ้าเฉพาะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะนำไปใช้กับระบบวงจรไฟฟ้าที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ซึ่งคุณสมบัติที่เพิ่มเข้ามาจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้ไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น โดยการเลือกสายไฟที่มีคุณสมบัติพิเศษนั้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2564 ที่กำหนดสายไฟฟ้ามาตรฐานที่มีคุณสมบัติพิเศษ 4 กลุ่ม คือ

  • คุณสมบัติทนไฟหรือต้านทานการลามไฟ : สายไฟที่ไม่เกิดการลุกลามของไฟเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และยังสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ โดยกำหนดให้ใช้ตามมาตรฐานสายไฟ มอก. 3197 หรือ มอก. 2755 หรือ BS 6387 หรือ IEC 60331

  • คุณสมบัติต้านเปลวเพลิง : สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนที่มีคุณสมบัติลดการลุกลามของการไหม้ของสายไฟฟ้า และยังมีคุณสมบัติดับไฟได้เองเมื่อมีการเอาแหล่งไฟออก โดยกำหนดให้ใช้ตามมาตรฐาน มอก. 2756 หรือ IEC 60332-3 หรือ IEC 60332-1

  • คุณสมบัติลดการปล่อยควัน : สายไฟฟ้ามาตรฐานที่มาพร้อมคุณสมบัติลดการเกิดควันกรณีที่มีการลุกลามของไฟเกิดขึ้นกับสายไฟฟ้า ซึ่งการเลือกใช้กำหนดให้ใช้ตามมาตรฐาน มอก. 2578 หรือ IEC 61034-2

  • คุณสมบัติด้านการปล่อยก๊าซ : สายไฟที่ไม่มีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดสารฮาโลเจน ทำให้ไม่เกิดการกัดกร่อนหรือปล่อยก๊าซกรดเมื่อมีปัญหาสายไฟฟ้าไหม้ โดยกำหนดให้ใช้ตามมาตรฐาน มอก. 2757 เล่ม 1-2559, มอก. 2757 เล่ม 2-2559 หรือ IEC 60754-1, IEC 60754-2

นอกจากนี้ยังสามารถเลือกสายไฟฟ้ามาตรฐานได้จากชนิดของตัวนำไฟฟ้าด้วย ซึ่งตัวนำนั้นมีอยู่หลายประเภท เช่น เงิน ทองแดง และอะลูมิเนียม

อ่านเพิ่มเติม : ตัวนำไฟฟ้าคืออะไร? วัสดุแบบไหนที่ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดีที่สุด

มาตรฐานสายไฟฟ้าล่าสุด

เลือกใช้สายไฟตามมาตรฐาน ลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน

สายไฟฟ้า เป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องเลือกอย่างใส่ใจเพราะนอกจากจะช่วยให้กระแสไฟฟ้าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สายไฟฟ้าตามมาตรฐานยังเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าได้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้นอกจากการเลือกใช้ตามมาตรฐานสายไฟฟ้าแล้ว อย่าลืมพิจารณาจากสีสายไฟมาตรฐานให้เหมาะกับเฟสที่ใช้ รูปแบบวัสดุของสายไฟ และคุณสมบัติสายไฟเพิ่มเติม ที่สำคัญคือสังเกตตรา มอก.11-2553 ด้วยทุกครั้ง เพียงเท่านี้ก็มั่นใจในการใช้ไฟฟ้าได้มากขึ้นแล้ว

 

สายไฟฟ้าคุณภาพสูงจาก Nutthaphume Equipment ตอบโจทย์การใช้งานกับทุกระบบไฟฟ้า

หากคุณกำลังมองหาสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มอก.11-2553 รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าคุณภาพสูงสำหรับการติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า Nutthaphume Equipment พร้อมส่งมอบสายไฟที่ตรงตามความต้องการใช้งานของคุณ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล

สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อเรา

ผลิตภัณฑ์ของ ณัฐภูมิ อีควิปเม้นท์

<p>ระบบโซลาร์เซลล์</p>

ระบบโซลาร์เซลล์

<p>เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า</p>

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

<p>อุปกรณ์ไฟฟ้า</p>

อุปกรณ์ไฟฟ้า