วิธีคิดค่าไฟมาจากอะไรบ้าง?
ก่อนที่จะไปดูกันว่าค่าไฟแพงเพราะอะไร แล้ววิธีเช็คค่าไฟแพงผิดปกติทำได้อย่างไร ลองมาดูกันก่อนว่าการคิดอัตราค่าไฟในแต่ละเดือนจนออกมาค่าเป็นค่าไฟสุทธินั้นมีการคิดจากส่วนไหนบ้าง โดยจะประกอบไปด้วย 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ค่าไฟฐาน (ค่าพลังงานไฟฟ้า)
ส่วนแรกของการคิดค่าไฟนั้นมาจากค่าพลังงานไฟฟ้า หรือ ค่าไฟฐาน ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าคงที่ ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้า โดยอัตราค่าไฟฐานนั้นจะแตกต่างกันตามประเภทของผู้ใช้โดยไม่ได้ขึ้นกับปริมาณการใช้ไฟฟ้า เช่น บ้านพักอาศัย ค่าไฟฐานจะต่ำกว่าอาคารกิจการขนาดเล็กหรือกิจการขนาดใหญ่ ซึ่งทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฐาน โดยคำนวณจากต้นทุนในการผลิตและการจัดส่งกระแสไฟฟ้า
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)
เมื่อค่าไฟแพงขึ้นผิดปกติ หลายคนจะพูดถึงค่าไฟฟ้าผันแปรหรือค่าเอฟทีกันมากที่สุด ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละช่วงจะผันแปรไปตามต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าตามจริง ดังนั้นค่า Ft จึงมีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ 4 เดือน การคำนวณค่าไฟที่มีความเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งจึงมาจากการปรับตามค่าเอฟทีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
3. จำนวนหน่วยไฟฟ้า
จำนวนหน่วยไฟฟ้า คือ ปัจจัยสำคัญของการคำนวณไฟฟ้าและสามารถเอาจำนวนหน่วยไฟฟ้าไปใช้เป็นวิธีเช็คหาสาเหตุค่าไฟแพงผิดปกติได้ เพราะเป็นปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนของผู้ใช้ ซึ่งจะต้องวัดผ่านมิเตอร์ไฟฟ้า โดยที่มิเตอร์จะแสดงตัวเลขให้เห็นว่ามีจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้สะสมในแต่ละเดือนเท่าไร ซึ่งค่ามาตรฐานของการใช้ไฟ 1 หน่วย จะเท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้ไป 1 ยูนิต หรือ 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (1kWh) ส่วนค่าไฟหน่วยละกี่บาท ดูตรงไหน? อันนี้สามารถตรวจสอบจากทางเว็บไซต์ของการไฟฟ้าโดยตรงได้
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7% เป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่จะใช้ในการคำนวณค่าไฟ เพราะเป็นส่วนที่จะนำไปรวมกับยอดค่าไฟฟ้าสุทธิ ทั้ง ผลรวมของค่าไฟฐาน จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ และค่า FT ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะนำไปรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%

ปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟแพง
เมื่อค่าไฟที่เคยจ่ายอยู่กลับมีราคาเพิ่มสูงขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมค่าไฟแพงเพราะอะไร ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยสำคัญ ต่อไปนี้
1. การใช้ไฟฟ้า
การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าคือปัจจัยแรกที่ทำให้ปริมาณของจำนวนหน่วยไฟฟ้าสูงขึ้น เพราะไม่เพียงแค่ไฟส่องสว่างเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ต้องมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เช่น การเปิดเครื่องปรับอากาศเป็นเวลานาน หรือปริมาณฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้องใช้เครื่องฟอกอากาศ หรือการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่มีเพิ่มเข้ามา
2. สภาพอากาศ

อากาศร้อนอบอ้าวก็เป็นสาเหตุค่าไฟแพงขึ้นผิดปกติได้ ยิ่งเป็นช่วงฤดูร้อนด้วยแล้ว เครื่องปรับอากาศยิ่งต้องทำงานหนัก ทำให้เกิดการกินไฟสูงขึ้น แม้ว่าจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมหรือเปิดใช้งานตามเวลาเดิมก็ตาม แต่การทำงานที่หนักขึ้นก็มีผลต่อค่าไฟที่แพงขึ้นด้วย
3. ค่า Ft สูงขึ้น
ค่า Ft ที่มีการผันแปรเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปีนั้นต้องบอกว่าเป็นส่วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนได้ในทุก ๆ 4 เดือน โดยปัจจุบันค่า Ft ที่เรียกเก็บอยู่ที่ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย (กันยายน-ธันวาคม 2567)
4. ปัญหาจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าหรือมีปัญหาชำรุดไฟรั่วก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้นได้แบบไม่รู้ตัว หากรู้สึกว่าใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มใหม่ รวมถึงค่า Ft ก็ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแต่ค่าไฟขึ้นผิดปกติ บางทีอาจเป็นผลมาจากไฟรั่วหรือเครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังมีปัญหาอยู่ก็เป็นได้
จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้นนั้นมีทั้งส่วนที่ผู้ใช้สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าค่าไฟแพงขึ้นแบบผิดปกติ สามารถใช้วิธีเช็คต่อไปนี้ดูว่าค่าไฟแพงผิดปกตินั้นมาจากสาเหตุไหนได้บ้าง
วิธีเช็คหาสาเหตุค่าไฟแพงผิดปกติ
เพื่อรู้ว่าทำไมค่าไฟแพงขึ้นและมีสาเหตุมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไม่ ให้ลองใช้ 5 วิธีเช็คค่าไฟแพงผิดปกติต่อไปนี้
1. ตรวจสอบการทำงานของมิเตอร์

ลองตรวจสอบดูว่ามิเตอร์ที่การไฟฟ้าจดตัวเลขนั้นมีความผิดปกติ ชำรุดเสียหายหรือไม่ ให้ทดลองปิดเบรกเกอร์ลงประมาณ 15 นาที แล้วสังเกตดูว่ามิเตอร์ยังทำงาน (หมุน) อยู่หรือไม่ หากว่ายังคงทำงานไม่หยุดให้รีบแจ้งทางการไฟฟ้าเข้าตรวจสอบอีกครั้ง
2. ตรวจสอบจากการจดหน่วยไฟฟ้า
เมื่อพบว่าค่าไฟแพงขึ้นให้ลองดูว่าเลขมิเตอร์มีตัวเลขการจดหน่วยไฟฟ้าที่ตัวเลขที่ใกล้เคียงหรือต่างกันกับในบิลค่าไฟมากน้อยหรือไม่ แล้วให้ลองหักลบกับตัวเลขจดหน่วยไฟฟ้าครั้งก่อนหน้าว่าผลลัพธ์จำนวนหน่วยที่ใช้ตรงตามที่ระบุหรือไม่ ซึ่งตามปกติแล้วหากมีการใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ตัวเลขจะต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งถ้าพบว่าตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติแม้ว่าจะลองบวกลบแล้วก็ไม่สามารถระบุที่มาที่ไปได้ กรณีนี้อาจลองแจ้งการไฟฟ้าเข้าตรวจสอบเพื่อแก้ไขได้
3. ตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าของตัวเอง

วิธีเช็คหาสาเหตุค่าไฟแพงผิดปกติด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ให้ลองสังเกตพฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าดูว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น เปิดเครื่องปรับอากาศในเวลานานขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ เปิดในอุณหภูมิต่ำกว่าเดิมรึเปล่า หรือมีการแช่อาหาร ของสด ไว้ในตู้เย็นในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิมขนาดไหน พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ค่าไฟแพงได้เช่นกัน
4. ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ไฟฟ้า

สาเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้นส่วนหนึ่งอาจเกิดขึ้นจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้านอาจมีปัญหาไฟรั่ว ให้ลองทำการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดดูโดยไม่ต้องปิดเบรกเกอร์ แล้วลองสังเกตดูว่ามิเตอร์ยังคงทำงานอยู่หรือไม่ หากยังมีการทำงานของมิเตอร์อยู่อาจหมายความว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชิ้นในบ้านมีปัญหาไฟรั่วอยู่ก็เป็นได้
5. แจ้งให้การไฟฟ้าตรวจสอบ
ถ้าลองทำตามวิธีเช็คค่าไฟแพงผิดปกติทั้ง 4 ข้อ แล้วยังไม่รู้ว่าสาเหตุที่ทำค่าไฟสูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่านั้นมาจากสาเหตุอะไร สามารถเขียนคำร้องกับทางการไฟฟ้าเพื่อให้ทำการตรวจสอบได้ หากมีความผิดปกติทางการไฟฟ้าจะทำการปรับปรุงค่าไฟใหม่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้หากตรวจสอบแล้วไม่มีความผิดปกติใด ๆ ผู้แจ้งจะต้องเสียค่าบริการในขั้นตอนการตรวจสอบ
วิธีช่วยลดปัญหาค่าไฟแพงผิดปกติ
สำหรับใครที่ลองใช้วิธีเช็คค่าไฟแพงผิดปกติดูแล้วพบว่าปัญหาน่าจะมาจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของตัวเองมากที่สุด ต่อไปนี้คือวิธีที่จะช่วยลดปัญหาค่าไฟแพงที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง
- เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากเบอร์ 5

เครื่องใช้ไฟฟ้าติดฉลากเบอร์ 5 นั้นผ่านการทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วว่าช่วยประหยัดพลังงานตามมาตรฐาน กฟผ. ได้จริง และยังบอกข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชั้นเพื่อให้สามารถคำนวณและวางแผนเรื่องค่าไฟคร่าว ๆ ต่อปีได้
- ประหยัดการใช้ไฟฟ้า
การประหยัดพลังงานการใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเองอย่างการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ใช้งาน หรือคอยตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่เสมอ ก็เป็นวิธีที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน
- ติดตั้งโซล่าเซลล์

การเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดค่าไฟลงได้มากถึง 30-70% เลยทีเดียว เพราะเป็นการนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าทดแทน แม้ว่าการติดโซล่าเซลล์จะมีค่าใช้จ่ายในช่วงแรก แต่เมื่อดูในระยะยาวแล้วถือว่าเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและช่วยประหยัดค่าไฟได้มากทีเดียว
วางแผนจัดการค่าไฟอย่างมีประสิทธิภาพ หนทางสู่การประหยัดได้อย่างยั่งยืน
เมื่อรู้ถึงวิธีเช็คค่าไฟแพงขึ้นผิดปกติและวิธีคำนวนค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนแล้ว จะเห็นได้ว่ามีทั้งจากสาเหตุที่แก้ได้ด้วยตัวเอง และแก้ไขไม่ได้อย่างเรื่องของต้นทุนพลังงานไฟฟ้า แต่เพื่อให้เกิดความสบายใจในการจ่ายค่าไฟได้มากที่สุด ควรวางแผนเกี่ยวกับการจัดการค่าไฟ ทั้งการปรับเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าให้เป็นเครื่องใช้ที่มีฉลากเบอร์ 5 รวมถึงการปิดและถอดปลั๊กเมื่อใช้งาน คำนวณจำนวนหน่วยไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในบ้าน กำหนดช่วงเวลาเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงพิจารณาเรื่องติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นวิธีจัดการปัญหาค่าไฟที่มีประสิทธิภาพและช่วยประหยัดได้ในระยะยาวอีกด้วย
แผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์จาก Nutthaphume Equipment ลดค่าไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน

หากคุณกำลังมองหาวิธีลดค่าไฟในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์คือคำตอบที่คุ้มค่าและยั่งยืนที่สุด ที่ Nutthaphume Equipment เรามีอุปกรณ์สำหรับระบบโซล่าเซลล์ให้คุณเลือกอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น แผงโซล่าเซลล์, Smart Solar Inverter, Smart Solar Optimizer, Smart Solar Sensor, Smart Solar Controller
ด้วยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะช่วยให้คุณสามารถลดค่าไฟลงได้ถึง 30-70% และมั่นใจได้ในประสิทธิภาพการทำงานที่ยาวนาน อีกทั้งยังช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม