
ขั้นตอนการขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
การขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า มีขั้นตอนที่ต้องรู้และต้องเตรียมเรื่องค่าใช้จ่ายให้พร้อม โดยมีรายละเอียดในการขอหม้อแปลงไฟฟ้า ดังนี้
1. ยื่นคำร้องขอขยายเขตระบบจำหน่ายแรงสูงและติดตั้งหม้อแปลง
ผู้ขอใช้ไฟต้องยื่นเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นตามมาตรฐานการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ากับทาง กฟภ. พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการสำรวจและออกแบบ จำนวน 5,350 บาท
2. การสำรวจและประมาณการค่าใช้จ่าย
หลังจากยื่นคำร้องแล้ว กฟภ. จะดำเนินการสำรวจพื้นที่และประเมินค่าใช้จ่ายในการขยายเขตระบบจำหน่าย จากนั้นจะแจ้งผลให้ผู้ขอใช้ไฟทราบเพื่อดำเนินการชำระเงิน โดยมีกำหนดระยะเวลาในการยืนราคาเดิมที่ 3 เดือน
3. การชำระค่าใช้จ่าย
ผู้ขอใช้ไฟต้องชำระค่าใช้จ่ายที่ กฟภ. ประมาณการไว้ภายในเวลาที่กำหนด
4. การก่อสร้างและติดตั้งหม้อแปลง
เมื่อชำระค่าใช้จ่ายเรียบร้อย กฟภ. จะดำเนินการก่อสร้างขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟสามารถดำเนินการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าตามมาตรฐานที่กำหนดได้
5. การยื่นขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า
หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น ผู้ขอใช้ไฟต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมเพื่อขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ. เพื่อให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบการติดตั้งในขั้นตอนสุดท้าย
6. การตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้ง
เมื่อผู้ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ายื่นเอกสารขอติดตั้งเรียบร้อยแล้ว กฟภ. จะตรวจสอบมาตรฐานการเดินสายไฟฟ้าภายใน หากผ่านการตรวจสอบ กฟภ. จะดำเนินการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าให้ กรณีที่ไม่ผ่านมาตรฐานทางการไฟฟ้าจะแจ้งให้ทราบเพื่อให้ผู้ขอใช้ไฟดำเนินการแก้ไข
อ่านบทความที่น่าสนใจ : หม้อแปลงไฟฟ้า” หัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
เมื่อทราบถึงขั้นตอนวิธีขอหม้อแปลงไฟฟ้ากันไปแล้ว เพื่อให้ไม่พลาดในทุกขั้นตอนการขอหม้อแปลงไฟฟ้า การเตรียมความพร้อมในเรื่องเอกสารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มให้การไฟฟ้าพิจารณาอนุมัติได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการขอหม้อแปลงไฟฟ้า มีดังนี้
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมวัตถุประสงค์แนบท้ายคัดไม่เกิน 30 วัน
- สำเนาเอกสารภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
- สำเนาใบอนุญาตตั้งโรงงาน (ร.ง.2) หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
- สำเนาบัตรประชาชน ของผู้ขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงสนาม
- สำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งโรงงาน
- แบบการก่อสร้างและการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
- หนังสือรับรองหลักฐานของวิศวกรไฟฟ้าผู้ออกแบบตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม
- แผนผังภายในบริเวณที่ขอใช้ไฟ
- สำเนาใบเสร็จค่าตรวจสอบหม้อแปลง
- หนังสือยินยอมให้ปักเสาพาดสายไฟฟ้ากรณีที่มีการพาดสายไฟฟ้าผ่านที่ดินผู้อื่น
- รายละเอียดสเปคอุปกรณ์
เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติมสำหรับผู้รับเหมา
- หนังสือรับรองบริษัท หรือหนังสือจดทะเบียนการค้า
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีอำนาจลงสนาม
- หนังสือมอบอำนาจจากบริษัทที่ขอใช้ไฟฟ้าที่มีการระบุให้ผู้รับเหมาดำเนินการ พร้อมอากรแสตมป์ 10 บาท
- กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดามาดำเนินการ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทที่ผู้รับเหมาให้บุคคลธรรมดามาดำเนินการ
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้รับมอบอำนาจ

เลือกชมสินค้า : หม้อแปลงไฟฟ้า มาตรฐาน iec แบรนด์ charoenchai
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า
หลังจากยื่นเอกสารขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว เมื่อทำการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าแล้วผู้ขอจะต้องยื่นเอกสารขอติดตั้งมิเตอร์เพิ่มเติม ตามรายละเอียดดังนี้
สำหรับนิติบุคคล
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน พร้อมระบุวัตถุประสงค์แนบท้าย จำนวน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ Passport ของผู้มีอำนาจลงนามในนามบริษัทหรือ หจก.
- สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งโรงงานที่ขอใช้ไฟฟ้า จำนวน 1 ชุด
- สำเนาใบอนุญาตตั้งโรงงาน (ร.ง.2) หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
- สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ก.พ.20) ถ้ามี จำนวน 1 ชุด
- แผนผังระบบไฟฟ้าภายใน มาตราส่วน 1:100 จำนวน 2 ชุด
- แผนผังระบบไฟฟ้าภายใน (Single line diagram) มาตราส่วน 1:100 จำนวน 2 ชุด
สำหรับบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ จำนวน 1 ชุด
- สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการ (ถ้ามี) จำนวน 1 ชุด
- แผนผังภายในมาตราส่วน 1:100 จำนวน 2 ชุด
- หนังสือยืนยันประเภทกิจการที่ประกอบการ จำนวน 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการที่ขอใช้ไฟฟ้า จำนวน 1 ชุด
(กรณีมอบอำนาจต้องมีเอกสารเพิ่มเติม)
- หนังสือมอบอำนาจตามเรื่องที่ยื่นขอ พร้อมติดอากรแสตมป์
- สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ
เอกสารสำหรับทำสัญญาซื้อขายไฟกับทางการไฟฟ้า
นอกจากหลักฐานที่ใช้ขอหม้อแปลงและติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว ในขั้นตอนการยื่นทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟภ. ยังมีหลักฐานที่ต้องใช้ยื่น ดังนี้
สำหรับนิติบุคคล
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน พร้อมระบุวัตถุประสงค์แนบท้าย จำนวน 1 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ Passport ของผู้มีอำนาจลงนามในนามบริษัทหรือ หจก.
- สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ก.พ.20) ถ้ามี จำนวน 1 ชุด
- สำเนาใบอนุญาตตั้งโรงงาน (ร.ง.2) หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการที่ขอใช้ไฟฟ้า จำนวน 1 ชุด
- เงินสดหรือหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารหรือพันธนบัตรรัฐบาล และติดอากรแสตมป์ 10 บาท
สำหรับบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ จำนวน 1 ชุด
- สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ถ้ามี) จำนวน 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการที่ขอใช้ไฟฟ้า จำนวน 1 ชุด
- หนังสือยืนยันประเภทกิจการที่ประกอบการ
- เงินสดหรือหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารหรือพันธนบัตรรัฐบาล และติดอากรแสตมป์ 10 บาท
เอกสารที่ต้องยื่น กฝภ. ตรวจสอบก่อนการจ่ายไฟ
ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่ให้ทางการไฟฟ้าจ่ายไฟเพื่อให้สามารถใช้งานจากหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็มีเอกสารที่ต้องยื่น ดังนี้
- หนังสือขอให้ตรวจสอบมาตรฐานการก่อสร้างระบบแรงสูงและแรงต่ำภายใน
- สำเนาใบเสร็จรับเงินของอุปกรณ์ติดตั้ง (พร้อมเซ็นรับรอง)
- สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าตรวจสอบหม้อแปลง (พร้อมเซ็นรับรอง)
- แผนผังระบบไฟฟ้าภายใน (Single line diagram) มาตราส่วน 1:100 จำนวน 1 ชุด
- สเปคอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
- กรณีที่มีการเดินเคเบิลใต้ดินต้องมีหนังสือยืนยันผลการทดสอบจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

เตรียมพร้อมทุกขั้นตอนเพื่อการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างราบรื่น
การเตรียมความพร้อมในเรื่องเอกสารสำหรับขั้นตอนขอติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า หากมีการเตรียมพร้อมครบถ้วนตั้งแต่แรกก็จะช่วยให้ราบรื่นในทุกขั้นตอน และมีโอกาสได้รับการพิจารณาอนุมัติได้รวดเร็ว ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจในการยื่นเอกสารหรือขั้นตอนการขอหม้อแปลงไฟฟ้า สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับ ณัฐภูมิ อีควิปเม้นท์ ได้เลย เพราะเราคือผู้ให้บริการในงานติดตั้งระบบไฟฟ้า โซล่าเซลล์ และธุรกิจไฟฟ้า ที่ดำเนินธุรกิจมากกว่า 40 ปี เรามีทีมงานที่มีประสบการณ์พร้อมให้คำแนะนำในทุกขั้นตอน
สนใจสั่งซื้อหรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าให้ถูกต้องและปลอดภัย ปรึกษาเรา โทร. 083-424-6999 หรือ Line : @npeq หรือคลิก ติดต่อเรา