สายไฟฟ้าใต้ดินมีกี่ชนิด ติดตั้งยังไง ต้องอยู่ที่ความลึกเท่าไหร่?

รู้จักสายไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Cable) มีกี่ชนิด ติดตั้งยังไง ต้องอยู่ที่ความลึกมาตรฐานเท่าไหร่?

สายไฟฟ้าใต้ดิน (underground cable) ช่วยปรับปรุงทัศนียภาพ ลดความเสี่ยงเสาไฟฟ้าล้ม เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน
ในปัจจุบัน การนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินหรือสายไฟฟ้าฝังดิน (Underground Cable) เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากช่วยปรับปรุงทัศนียภาพ ลดความเสี่ยงจากพายุ การล้มของเสาไฟฟ้า และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในด้านการใช้งาน การติดตั้งสายไฟฝังดินมีความซับซ้อนที่ต้องใช้ความรู้ในเรื่องชนิดของสายไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้ง และความลึกที่เหมาะสม ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินรวมถึงข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ กัน

เลือกอ่าน

ประเภทสายไฟฟ้าฝังดิน

สายไฟฟ้าฝังดินมีหลายประเภท สาย XLPE สาย PVC สาย PILC

ก่อนจะทำการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดิน เราจำเป็นต้องเลือกประเภทสายไฟที่เหมาะสมกับการใช้งานก่อน ซึ่งสายไฟฟ้าฝังดินมีหลายชนิด และถูกออกแบบมาเพื่อให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นหรือมีสารเคมีในดิน 

โดยสายไฟที่นิยมใช้ในการฝังดิน ได้แก่ : 

1. สายไฟฟ้า XLPE (Cross-linked Polyethylene)

สายไฟฟ้า XLPE (cross-linked polyethylene) ทนความร้อน ติดตั้งได้ยืดหยุ่น เหมาะกับระบบไฟฟ้าแรงสูง

สายไฟประเภทนี้มีฉนวนที่ทนต่อความร้อนได้ดี ใช้กับระบบไฟฟ้าแรงดันสูง ทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว และมีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง

 

2. สายไฟฟ้า PVC (Polyvinyl Chloride)

สายไฟฟ้า PVC (polyvinyl chloride) เหมาะกับระบบไฟฟ้าแรงต่ำ เดินไฟภายในอาคาร ไม่ต้องมีการป้องกันมาก

เป็นสายไฟที่นิยมใช้ในระบบแรงดันไฟฟ้าต่ำ เหมาะสำหรับการเดินสายไฟภายในอาคารหรือในดินที่ไม่ต้องการการป้องกันเพิ่มเติม

 

3. สายไฟฟ้า PILC (Paper Insulated Lead Covered)

สายไฟฟ้า PILC (paper insulated lead covered) เหมาะกับโครงข่ายไฟฟ้าใต้ดิน ทนทานสูง หุ้มด้วยตะกั่วเพื่อกันน้ำ ทนต่อการกัดกร่อนจากดิน

สายดไฟชนิดนี้ถูกออกแบบให้มีฉนวนกระดาษและหุ้มด้วยตะกั่วเพื่อป้องกันน้ำ และความชื้น มีความทนทานต่อการกัดกร่อนจากดิน เหมาะสำหรับการใช้ในโครงข่ายไฟฟ้าใต้ดินที่ต้องการความทนทานสูง

การเลือกสายไฟฟ้าฝังดินที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ต้องคำนึงถึงชนิดของสายไฟเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาความทนกระแสของสายไฟ ว่าสามารถรับแรงดันไฟฟ้าได้เท่าใด เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

มาตรฐานของสายไฟฟ้าฝังดิน

สายไฟฟ้าลงดินที่ดีควรได้รับมาตรฐานรับรอง

การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินมีมาตรฐานที่เข้มงวดเพื่อให้มั่นใจว่าสายไฟสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมใต้ดินได้อย่างปลอดภัย มาตรฐานเหล่านี้รวมถึงการเลือกวัสดุของสายไฟ การติดตั้งที่ถูกวิธี และการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำไปใช้งาน 

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดิน ได้แก่ : 

 

1. มาตรฐาน IEC 60287

เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินความทนกระแสของสายไฟในกรณีที่ถูกติดตั้งในดิน มาตรฐานนี้คำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความหนาแน่นของกระแส ความร้อนในดิน และการระบายความร้อนจากสายไฟ

 

2. มาตรฐาน IEEE 575

เป็นมาตรฐานที่แนะนำการเลือกสายไฟฟ้าใต้ดินในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อความเสียหาย เช่น ในพื้นที่ชื้นหรือมีการกัดกร่อนจากสารเคมี

 

3. มาตรฐานการป้องกันการลัดวงจร

การติดตั้งสายไฟฟ้าฝังดินต้องมีระบบป้องกันการลัดวงจร (Short Circuit Protection) เช่น การใช้ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ที่สามารถทนทานต่อกระแสไฟฟ้าสูงในกรณีที่เกิดการลัดวงจร


มาตรฐานเหล่านี้ช่วยให้การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินเป็นไปตามข้อกำหนดที่ปลอดภัย และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าอีกด้วย

การติดตั้งสายไฟฟ้าฝังดิน

การติดตั้งสายไฟฟ้าฝังดิน (underground cable) ต้องใช้ความเชี่ยวชาญและระมัดระวังในการติดตั้ง

การติดตั้งสายไฟฟ้าฝังดิน (Underground Cable) เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความระมัดระวังและควรเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อให้แน่ใจว่าสายไฟสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด 

ขั้นตอนในการติดตั้งสายไฟฟ้าฝังดิน

1. สำรวจและการออกแบบระบบไฟฟ้าใต้ดิน

การออกแบบระบบไฟฟ้าใต้ดินควรใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ

การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินเริ่มต้นด้วยการสำรวจพื้นที่ที่จะติดตั้ง ตรวจสอบสภาพดินและเลือกเส้นทางที่เหมาะสม การออกแบบควรจะต้องคำนึงถึงข้อกำหนดทางวิศวกรรมไฟฟ้า เช่น ความลึกมาตรฐานในการฝังสายไฟ และการคำนวณที่ถูกต้อง รวมถึงการทนกระแสของสายไฟเพื่อให้มั่นใจว่าสายไฟสามารถรองรับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้งานได้

2. เตรียมพื้นที่และการขุดดิน

เมื่อมีการออกแบบเสร็จแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการเตรียมพื้นที่ โดยจะมีการขุดดินตามแนวเส้นทางที่กำหนด โดยความลึกของร่องดินจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งสายไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของสายไฟที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นสายไฟแรงดันต่ำหรือแสงไฟแรงดันสูง

3. เตรียมฐานรองรับสายไฟ

หลังจากขุดร่องดินแล้ว ควรเตรียมฐานรองรับสายไฟด้วยการใส่วัสดุป้องกัน เช่น การวางทรายละเอียดเพื่อรองพื้นสายไฟ หรือการใช้แผ่นป้องกันความชื้นเพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟสัมผัสกับความชื้นในดินโดยตรง

4. ติดตั้งสายไฟ

การวางสายไฟฟ้าในดินต้องทำอย่างระมัดระวัง

การวางสายไฟฟ้าในดินต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยการวางสายไฟฟ้าใต้ดินควรถูกดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันการบิดงอหรือดึงสายไฟมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้สายไฟเกิดความเสียหายได้ ในบางกรณีการใช้ท่อ PVC หรือท่อ HDPE เป็นการหุ้มสายไฟจะช่วยเพิ่มความทนทานและป้องกันไม่ให้สายไฟถูกกระแทกหรือถูกกัดกร่อนจากดิน

5. เชื่อมต่อและทดสอบระบบไฟฟ้า

เมื่อติดตั้งสายไฟเสร็จแล้ว การเชื่อมต่อสายไฟเข้ากับระบบจะต้องทำอย่างถูกต้องและมีการทดสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าก่อนใช้งาน เช่น การตรวจสอบการลัดวงจร (Short Circuit) และการทดสอบความต้านทานไฟฟ้า

6. ปิดร่องและติดตั้งเครื่องหมายเตือน

การติดตั้งเครื่องหมายเตือนว่ามีสายไฟฟ้าฝังอยู่ใต้ดินเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในการขุดดินหรือการก่อสร้าง

หลังจากติดตั้งและทดสอบสายไฟเสร็จสมบูรณ์ ขั้นตอนสุดท้ายคือการปิดร่องดิน และการติดตั้งเครื่องหมายเตือนเพื่อบ่งชี้ว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีสายไฟฟ้าฝังอยู่ใต้ดิน การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในการขุดดินหรือการก่อสร้างในอนาคต

ความลึกมาตรฐานของการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดิน

ความลึกมาตรฐานของการติดตั้งสายไฟฟ้าแรงสูงใต้ดินคือมากกว่า 1 เมตร และแรงต่ำคือตั้งแต่ 60 เซนติเมตร

การติดตั้งสายไฟฟ้าฝังดินต้องเป็นไปตามความลึกมาตรฐานเพื่อป้องกันความเสียหายจากการก่อสร้างหรือการขุดเจาะดิน โดยความลึกมาตรฐานจะขึ้นอยู่กับชนิดของสายไฟและแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ 

ตัวอย่างเช่น : 

 

สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Cable)

มักจะถูกติดตั้งที่ความลึกประมาณ 60 เซนติเมตร

 

สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Cable) 

มักต้องการความลึกมากกว่า 1 เมตร โดยขึ้นอยู่กับข้อกำหนดทางวิศวกรรมไฟฟ้าและความปลอดภัย

 

การฝังสายไฟให้ลึกพอเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟถูกกระแทกจากอุปกรณ์ที่ใช้ในพื้นที่ดิน เช่น รถขุดดินหรืออุปกรณ์การก่อสร้าง รวมถึงการติดตั้งที่ไม่ลึกพออาจทำให้สายไฟเสียหายได้ง่ายด้วย

ข้อดีและข้อเสียของการใช้สายไฟฟ้าใต้ดิน

การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

การใช้สายไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Cable) เป็นทางเลือกหนึ่งในการเดินสายไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยและความทนทานสูง แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องพิจารณาก่อนการติดตั้ง

 

ข้อดีของการใช้สายไฟฟ้าใต้ดิน

1. ปลอดภัยจากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย

สายไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่ใต้ดินมีความปลอดภัยจากสภาพอากาศที่รุนแรง เช่น พายุ ลมแรง ฟ้าผ่า หรือหิมะที่ตกหนัก ซึ่งแตกต่างจากสายไฟฟ้าอากาศที่อาจเกิดความเสียหายได้ง่ายจากปัจจัยเหล่านี้ นอกจากนี้สายไฟฟ้าใต้ดินยังไม่ถูกคุกคามจากสัตว์ เช่น นกหรือกระรอกที่มักจะรบกวนหรือทำความเสียหายต่อสายไฟฟ้าที่เดินบนเสา

 

2. สวยงามและไม่เกะกะสายตา

การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินช่วยให้ทัศนียภาพสวยงามและเป็นระเบียบ

การใช้สายไฟฟ้าใต้ดินช่วยให้พื้นที่เมืองหรือพื้นที่อยู่อาศัยดูสวยงามและเป็นระเบียบมากขึ้น ไม่มีสายไฟพาดผ่านตามถนนหรือบ้านเรือน

3. ลดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ

การใช้สายไฟฟ้าใต้ดินช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุจากการชนหรือสัมผัสกับสายไฟฟ้า เนื่องจากสายไฟไม่ได้อยู่บนเสาและอยู่ห่างจากผู้คนมากกว่า ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าช็อตจากการสัมผัสโดยไม่ได้ตั้งใจ

4. มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

สายไฟฟ้าใต้ดินมักมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าสายไฟฟ้าอากาศ เพราะไม่ได้สัมผัสกับปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการสึกกร่อนหรือเสียหาย เช่น ฝน ความชื้น หรือรังสีอัลตราไวโอเลต (UV)

5. ทนกระแสไฟฟ้าสูงกว่า

ในกรณีที่ใช้วัสดุที่เหมาะสม สายไฟฟ้าใต้ดินจะสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าที่ได้สูงกว่าสายไฟฟ้าบนดินมาก

ข้อเสียของการใช้สายไฟฟ้าใต้ดิน

1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง

การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการติดตั้งสายไฟฟ้าอากาศมาก เนื่องจากต้องมีการขุดดิน การเตรียมพื้นที่ การติดตั้งระบบป้องกันความชื้น และใช้อุปกรณ์ที่มีความแข็งแรงมากกว่า นอกจากนี้ การวางสายไฟใต้ดินยังต้องใช้เครื่องจักรและทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นสาหตุที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

2. บำรุงรักษายากขึ้น

การบำรุงรักษาสายไฟฟ้าใต้ดินซับซ้อนและยากกว่าสายไฟฟ้าอากาศ เนื่องจากสายไฟถูกฝังอยู่ใต้ดิน หากเกิดปัญหาขึ้น การเข้าถึงสายไฟเพื่อซ่อมแซมต้องใช้เวลาและเครื่องมือพิเศษ เช่น ต้องมีการขุดดินเพื่อตรวจสอบหรือซ่อมสายไฟ

3. เสี่ยงต่อความเสียหายจากปัจจัยใต้ดิน

สายไฟฟ้าใต้ดินอาจเกิดความเสียหายได้จากการเคลื่อนตัวของดิน การขุดเจาะที่ไม่ระวัง หรือการก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียง หากไม่มีการวางแผนหรือติดตั้งเครื่องหมายเตือนที่เหมาะสม นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือมีน้ำขังอาจทำให้สายไฟฟ้าเกิดการกัดกร่อนหรือเสียหายได้เร็วขึ้น หากไม่มีการใช้วัสดุป้องกันที่เหมาะสม

4. ระบายความร้อนได้จำกัด

แม้ว่าสายไฟฟ้าใต้ดินจะสามารถทนกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องการระบายความร้อน เนื่องจากความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าอาจสะสมในดิน หากไม่มีระบบระบายความร้อนที่ดี เช่น การใช้วัสดุหุ้มสายไฟที่สามารถช่วยในการระบายความร้อน หรือการวางท่อระบายอากาศ

5. มีข้อจำกัดในการติดตั้งในบางพื้นที่

การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินไม่เหมาะกับบางพื้นที่ เช่น มีความชื้นสูง ดินทรุดตัว มีน้ำท่วมบ่อย

การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินไม่เหมาะสมในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่มีความชื้นสูง ดินทรุดตัว หรือพื้นที่ที่มีน้ำท่วมบ่อย ซึ่งอาจทำให้การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินมีความเสี่ยงต่อการเสียหายมากขึ้น นอกจากนี้ พื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นดินซับซ้อน เช่น บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ที่มีชั้นหินแข็ง ก็อาจทำให้การขุดเจาะเพื่อติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินทำได้ยาก

การติดตั้งสายไฟฟ้าฝังดินเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน แต่หากปฏิบัติตามมาตรฐานและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย และยืดอายุการใช้งานของระบบไฟฟ้าใต้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากคุณกำลังมองหาผลิตภัณฑ์สำหรับระบบไฟฟ้า บริษัท ณัฐภูมิ อีควิปเม้นท์ จัดจำหน่ายสายไฟที่ได้มาตรฐาน รวมถึง หม้อแปลงไฟฟ้า ลูกถ้วยไฟฟ้า Snake Guard ฯลฯ นอกจากนี้เรายังให้บริการออกแบบระบบและดูแลบำรุงรักษาอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ของ ณัฐภูมิ อีควิปเม้นท์

<p>ระบบโซลาร์เซลล์</p>

ระบบโซลาร์เซลล์

<p>เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า</p>

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

<p>อุปกรณ์ไฟฟ้า</p>

อุปกรณ์ไฟฟ้า