
1. ตรวจสอบระดับและคุณภาพของน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า
น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าต้องอยู่ในระดับที่เพียงพอตามระดับที่กำหนดไว้ และต้องตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันดูว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานหรือไม่ ซึ่งการตรวจเช็คน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้านั้นสามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องตรวจวัดประสิทธิภาพน้ำมัน รวมถึงการทำPM หม้อแปลงไฟฟ้าทุก ๆ ปี เพราะน้ำมันหม้อแปลงทำหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้าและช่วยระบายความร้อน หากระดับน้ำมันต่ำหรือคุณภาพเสื่อมสภาพ อาจทำให้หม้อแปลงร้อนเกินไปหรือเกิดการลัดวงจรภายในได้
วิธีตรวจสอบคุณภาพน้ำมัน
- ตรวจสอบระดับน้ำมันที่เกจวัดว่ามีปริมาณอยู่ในช่วงที่กำหนด
- ตรวจดูว่าสีน้ำมันไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือขุ่นข้นผิดปกติ
- ตรวจเช็คค่าความเป็นกรดของน้ำมันเพื่อดูว่ายังสามารถทำหน้าที่เป็นฉนวนได้ดีหรือไม่
- หากพบว่าน้ำมันมีความชื้นสูง ควรทำการกรองหรือล้างน้ำมันใหม่
อ่านบทความที่น่าสนใจ : เปรียบเทียบหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงแต่ละชนิด พร้อมจุดเด่น ข้อดี ข้อเสีย และการบำรุงรักษา
2. ตรวจสอบสายไฟและขั้วต่อว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือไม่
หม้อแปลงไฟฟ้ามีขั้วต่อหลายจุดที่ต้องเชื่อมต่ออย่างแน่นหนา หากสายไฟหลวมหรือขั้วต่อหลุด อาจทำให้เกิดประกายไฟ ความร้อนสะสม หรืออาร์คไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ควรตรวจสอบดูว่าทั้งสายไฟและขั้วต่อต้องอยู่ในสภาพปกติเสมอ
วิธีตรวจสอบสายไฟและขั้วต่อ
- ตรวจสอบว่าสายไฟแรงสูงและแรงต่ำต่อเข้ากับหม้อแปลงอย่างถูกต้อง
- ตรวจสอบว่าสายไฟไม่มีรอยไหม้ เปื่อย หรือฉนวนฉีกขาด
- ใช้ไขควงวัดไฟหรือเครื่องมือวัดเพื่อเช็คค่าความต้านทานของสายไฟ

3. ตรวจสอบระบบสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว
ระบบสายดินของหม้อแปลงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และเป็นมาตรฐานที่สำคัญของการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าตามข้อกฎหมายกำหนด ดังนั้นนอกจากจะปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัดแล้ว ต้องเช็คระบบสายดินของหม้อแปลงไฟฟ้าว่าอยู่ในสภาพที่เสียหายหรือไม่
วิธีตรวจสอบระบบสายดิน
- ใช้เครื่องมือตรวจสอบค่าความต้านทานดิน ค่าที่เหมาะสมควรอยู่ต่ำกว่า 5 โอห์ม
- ตรวจสอบว่าสายดินเชื่อมต่อกับจุดที่เป็นกราวด์ได้ดี
- ตรวจเช็คสายดินว่าไม่มีการหลุดขาดหรือเป็นสนิม
4. ตรวจสอบสภาพภายนอกของหม้อแปลง
นอกจากส่วนประกอบหม้อแปลงไฟฟ้าที่ต้องให้ความสำคัญในการตรวจเช็คแล้ว สภาพภายนอกของหม้อแปลงเองก็สำคัญ เพราะหากหม้อแปลงมีรอยร้าว บุบ หรือสนิม อาจทำให้เกิดปัญหาทางไฟฟ้าและความปลอดภัยได้
วิธีตรวจสอบสภาพหม้อแปลง
- ตัวถังหม้อแปลงไม่มีรอยแตกร้าว
- ไม่มีน้ำมันรั่วซึมจากจุดเชื่อมต่อ
- ตรวจสอบโครงเหล็กที่ยึดหม้อแปลงว่ายังแข็งแรงและปลอดภัย

5. ตรวจสอบซิลิก้าเจลหรือสารดูดความชื้น
ซิลิก้าเจลคือส่วนที่ช่วยดูดความชื้นไม่ให้เข้าไปในหม้อแปลง หากซิลิก้าเจลหรือสารดูดความชื้นเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีชมพู แสดงว่าดูดความชื้นเต็มที่แล้วควรเปลี่ยนใหม่
วิธีตรวจสอบซิลิก้าเจล
- ดูสีของซิลิก้าเจล หากเป็นสีชมพูหรือสีซีด ต้องรีบเปลี่ยนใหม่ทันที
- ตรวจสอบว่าตัวกรองซิลิก้าเจลไม่มีรอยรั่ว
6. ตรวจสอบสถานีจ่ายไฟและตู้ควบคุม
ตู้ควบคุมหม้อแปลงต้องอยู่ในสภาพดีไม่มีคราบสนิม รอยผุกร่อน และไม่มีรอยร้าวหรือการรั่วซึม ซึ่งสถานีจ่ายไฟและตู้ควบคุมต้องมีคุณสมบัติป้องกันฝุ่น สัตว์เข้าไปทำรัง ความชื้น และการจัดวางระบบสายไฟที่เรียบร้อย
วิธีตรวจสอบสถานีจ่ายไฟ
- ไม่มีหนูหรือนกเข้ามาทำรัง
- แผงวงจรและเบรกเกอร์ไม่มีรอยไหม้
- ไม่มีน้ำรั่วเข้าไปภายในตู้ควบคุม
- อุณหภูมิปกติไม่ร้อนมากเกินไป
7. ตรวจสอบป้ายเตือนและอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
ตามหลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า ไม่ควรให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ไม่เข้าใจการทำงานของหม้อแปลงเข้าใกล้บริเวณ ข้อกำหนดทางกฎหมายจึงกำหนดให้ติดป้ายเตือนให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องหลีกเลี่ยงอันตรายจากหม้อแปลงไฟฟ้า โดยต้องอยู่ในสภาพที่ดีและมองเห็นได้ชัดเจน
วิธีตรวจสอบป้ายเตือน
- ป้ายเตือน “ไฟฟ้าแรงสูง อันตราย” ต้องอยู่ในสภาพดี มองเห็นได้ชัด
- คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ถังดับเพลิงที่สามารถใช้งานได้

8. ตรวจสอบรั้วกั้นรอบหม้อแปลง
นอกจากป้ายเตือนแล้ว บริเวณที่ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ต้องมีการทำรั้วกั้นช่วยป้องกันบุคคลภายนอกเข้าถึงหม้อแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งรั้วต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน แข็งแรงและป้องกันการเข้าถึงได้จริง
วิธีตรวจสอบรั้วกั้น
- รั้วต้องไม่มีรอยรั่วหรือชำรุด
- มีกุญแจล็อกเพื่อความปลอดภัย
- มีป้ายเตือน “ห้ามเข้า”
9. ตรวจสอบเสียงและกลิ่นผิดปกติ
การทำงานของเบื้องต้นของหม้อแปลงไฟฟ้าจะต้องไม่มีเสียงรบกวน หรือมีเสียงที่ฟังดูแลรู้สึกได้ถึงความผิดปกติ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาภายในหม้อแปลง เช่น การลัดวงจรหรือหม้อแปลงร้อนเกินไปได้
วิธีตรวจสอบเสียงหม้อแปลง
- หากได้ยินเสียง “หึ่ง” หรือเสียงคล้ายการช็อตของวงจรดังเกินไป และดังเป็นเวลานาน อาจหมายถึงภายในมีปัญหา
- หากได้กลิ่นไหม้จากฉนวนหรืออุปกรณ์ ควรหยุดใช้งานทันทีและเรียกช่างมาตรวจสอบ

เลือกชมสินค้า : หม้อแปลงไฟฟ้า มาตรฐาน iec แบรนด์ charoenchai
ตรวจเช็คหม้อแปลงไฟฟ้า เรื่องสำคัญที่ผู้ใช้งานไม่ควรมองข้าม
การเช็คหม้อแปลงไฟฟ้าหลังติดตั้งเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าหม้อแปลงสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การตรวจสอบเป็นประจำยังช่วยยืดอายุการใช้งานของหม้อแปลง และลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าลัดวงจรหรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้งานไม่ควรมองข้าม และหากพบปัญหาควรรีบแจ้งวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างผู้เชี่ยวชาญดำเนินการแก้ไขทันที เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของระบบไฟฟ้า
สำหรับเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการยกระดับกำลังผลิตด้วยการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับระบบไฟฟ้าแรงสูง Nutthaphume Equipment คือตัวแทนจำหน่าย หม้อแปลงไฟฟ้าคุณภาพสูง ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานในระดับสากล พร้อมด้วยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำแนะนำในการเลือกซื้อ และบริการติดตั้งที่ไว้วางใจได้ ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจด้านไฟฟ้ามามากกว่า 40 ปี มั่นใจ ปลอดภัยในทุกขั้นตอน
สนใจติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าให้ถูกต้องและปลอดภัย ปรึกษา Nutthaphume Equipment วันนี้ โทร. 083-424-6999 หรือ Line : @npeq หรือคลิก ติดต่อเรา