7 ข้อต้องรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อความคุ้มค่ามากที่สุด

7 ข้อควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อให้ใช้งานได้คุ้มค่าที่สุด

ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ต้องรู้อะไรบ้าง
ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากช่วยลดมลพิษและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายระยะยาว อีกทั้งยังมาพร้อมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย ทำให้จำนวนผู้ที่สนใจอยากเป็นเจ้าของรถไฟฟ้ามีเพิ่มมากขึ้น แต่ก่อนจะตัดสินใจซื้อรถ EV ควรศึกษาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้เลือกซื้อได้เหมาะสมและใช้งานได้คุ้มค่ามากที่สุด วันนี้ ณัฐภูมิ อีควิปเม้นท์ เลยไม่พลาดที่จะแชร์ 7 ข้อที่ต้องรู้ก่อนซื้อรถไฟฟ้ามาบอกกัน

เลือกอ่าน

1. ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า (EV)

ข้อแรก คือ ต้องเข้าใจก่อนว่ารถยนต์ไฟฟ้าในไทยที่มีขายในปัจจุบันนั้นมีตัวเลือกอยู่หลายประเภท ซึ่งนวัตกรรมที่ใช้ในการขับเคลื่อนและเทคโนโลยีในการใช้งานก็มีความแตกต่างกันด้วย โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก คือ

  • Hybrid electric vehicle (HEV) : รถยนต์ที่มีการผสมผสานกันระหว่างเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันกับมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน โดยรถยนต์ประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger เพราะรองรับการเติมน้ำมันเท่านั้น
  • Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) : รถยนต์ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก HEV ที่แม้ว่ายังคงใช้การขับเคลื่อนสองระบบ แต่มีจุดเด่นอยู่ที่ สามารถเติมได้ทั้งน้ำมันและชาร์จพลังงานจาก EV Charger ได้เช่นกัน
  • Battery Electric Vehicle (BEV) : รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนแบบ 100% และเป็นประเภทรถไฟฟ้าในไทยที่มีตัวเลือกหลายรุ่นหลายแบรนด์ สามารถชาร์จพลังงานได้จากสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านได้

     

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม : รถยนต์ไฟฟ้าแบ่งออกเป็นกี่ประเภท? แต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

เลือกรถไฟฟ้า ev ให้เข้ากับไลฟสไตล์

2. ไลฟ์สไตล์ของคุณเหมาะกับรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่?

ลองเช็กดูว่าคุณมีความเหมาะสมกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจริง ๆ หรือไม่ เพราะไลฟ์สไตล์ในการใช้งานรถไฟฟ้าในไทยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นการใช้งานในเมืองที่มักจะมีสภาพการจราจรติดขัด เพราะเมื่อเทียบกันแล้วรถไฟฟ้าจะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่ารถใช้น้ำมัน ดังนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้รถในเมืองเป็นประจำทุกวัน เช่น การขับไปทำงาน รับ-ส่งลูก หรือขนส่งสินค้าขนาดเล็กในเมือง หากไลฟ์สไตล์การใช้รถเป็นแบบนี้รถยนต์ไฟฟ้า 100% ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์และคุ้มค่าแน่นอน

 

แต่ถ้าคุณเป็นคนใช้รถทางไกล ขับเดินทางออกต่างจังหวัดเป็นประจำ ต้องใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์บ่อย ๆ ไลฟ์สไตล์การใช้รถแบบนี้รถยนต์ใช้น้ำมัน หรือรถแบบไฮบริดอาจเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าและสะดวกมากกว่า

 

3. ทำความเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียของรถไฟฟ้า

รถยนต์ทุกประเภทมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นก่อนซื้อรถไฟฟ้า ควรพิจารณาทั้งแบรนด์ รุ่น และข้อดี-ข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้าให้ครบถ้วน เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกได้คุ้มค่ามากที่สุด โดยข้อดีและข้อเสียของรถ EV มีดังนี้

 

ข้อดี

  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องพลังงานและค่าบำรุงรักษาในระยะยาว
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • การใช้งานที่เงียบสงบและนุ่มนวล
  • มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้ใช้งาน  
  • สามารถเติมเชื้อเพลิงด้วยการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้จากที่บ้าน

 

ข้อเสีย

  • ระยะทางที่จำกัดต่อการชาร์จแต่ละครั้ง (ขึ้นอยู่กับรุ่นรถและแบตเตอรี่) 
  • ราคาที่อาจจะสูงกว่ารถยนต์เติมน้ำมันบางรุ่น
  • ในประเทศไทยบางพื้นที่ยังไม่มีสถานี EV Charger
รูปแบบของ ev charger wallbox

4. ประเภทของ EV Charger และความสำคัญของการชาร์จ

นอกจากประเภทรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องรู้แล้ว ก่อนซื้อรถไฟฟ้าอยากให้ลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

  • AC Charger (Slow Charger) : ใช้เวลาในการชาร์จ 6-12 ชั่วโมง เหมาะสำหรับติดตั้งที่บ้าน
  • DC Fast Charger (Quick Charger) : ใช้เวลาในการชาร์จ 30-60 นาที ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในติดตั้งที่สถานีชาร์จรถไฟฟ้า

นอกจากประเภทแล้ว การเลือกติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าแต่ละรูปแบบก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องพิจารณา เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานได้มากที่สุด ซึ่งต้องพิจารณาจากตำแหน่งที่ติดตั้ง ฟังก์ชันในการใช้งานที่ครอบคลุม เช่น การควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน ขนาดของเครื่องชาร์จ และกำลังชาร์จสูงสุดที่รองรับได้

เลือกชมสินค้าของเรา : เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox

อ่านบทความเพิ่มเติม : คู่มือเลือกที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบง่ายๆ สำหรับมือใหม่

5. เปรียบเทียบค่าเชื้อเพลิงที่ต้องจ่าย

ปัจจัยที่หลายคนสนใจ รถ EV ก็เพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องพลังงาน เพราะเชื่อกันว่าการชาร์จไฟฟ้าของรถ EV นั้นประหยัดกว่าเติมน้ำมัน แต่ก็อยากให้หลายคนลองคำนวณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่ต้องจ่ายกันด้วยว่า คุ้มค่ากับการลงทุนซื้อรถใหม่จริงหรือไม่ ซึ่งก็อาจจะขึ้นอยู่กับระยะทางในการใช้รถด้วย โดยใช้สูตรคำนวณค่าน้ำมันและค่าพลังงานไฟฟ้า ดังนี้

สูตรคำนวณค่าน้ำมันตามระยะการใช้งาน

เริ่มจากการปริมาณค่าน้ำมันที่ใช้ก่อนด้วยสูตร ระยะทาง (กม.) อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (กม./ลิตร) = ปริมาณน้ำมันที่ใช้ (ลิตร) เช่น ระยะทาง 300 กม. 24.31 กม./ลิตร = 12.34 ลิตร คือปริมาณน้ำมันที่ใช้

จากนั้นให้นำปริมาณน้ำมันที่ใช้มาคำนวณหาค่าน้ำมันที่ต้องจ่ายตลอดการเดินทาง โดยใช้สูตร ปริมาณน้ำมันที่ใช้ (ลิตร) x ราคาน้ำมัน ณ ปัจจุบัน (บาท/ลิตร) = ค่าน้ำมัน (บาท) เช่น 12.34 x 35.35 = 436.22 บาท สรุปได้ว่า การใช้รถยนต์ในระยะทาง 300 กม. จะต้องเสียค่าน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 436.22 บาท

สูตรคำนวณค่าไฟ รถ EV ตามระยะการใช้งาน

การคิดจำนวนค่าไฟในรถไฟฟ้านั้นจะคิดได้จาก ระยะทาง อัตราสิ้นเปลืองไฟฟ้า = ระยะทางที่วิ่งได้ต่อไฟฟ้า 1 หน่วย เช่น ระยะทาง 100 กม. อัตราสิ้นเปลืองไฟฟ้า 18.5 kWh/100km (NETA X) 100 18.5 = 5.4 ซึ่งเท่ากับว่า ไฟฟ้า 1 หน่วยของรถ NETA X วิ่งได้ไกลประมาณ 5.4 กิโลเมตร เมื่อนำมาคำนวณกับการชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน โดยวัดจาก มิเตอร์ TOU ช่วง Off Peak อยู่ที่ หน่วยละ 3.8 บาท เพื่อหาจำนวนค่าไฟตามระยะการใช้งานจริง ให้นำ 3.8 (ค่าไฟ) 5.4 (ระยะทางที่วิ่งได้/หน่วย) = 0.70 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบกับระยะทาง 300 กิโลเมตร จะเสียค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่ 210 บาท

จากสูตรคำนวณที่ได้จากทั้ง ค่าน้ำมัน และค่าไฟฟ้า เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในระยะการเดินทาง 300 กิโลเมตร รถไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายประมาณ 210 บาท ขณะที่รถยนต์น้ำมันมีค่าใช้จ่าย 436.22 บาท หรือสูงกว่ารถไฟฟ้าประมาณ 50% เลยทีเดียว

ข้อควรระวังในการใช้รถไฟฟ้าในไทย

6. ศึกษาข้อควรระวังในการใช้งานอย่างละเอียด

เพื่อยืดอายุการใช้งานให้กับรถยนต์ไฟฟ้า ก่อนซื้อจำเป็นต้องตรวจสอบข้อควรระวังในการใช้งานให้ละเอียด เพื่อคงประสิทธิภาพในการทำงานของรถ EV โดยข้อควรระวังพื้นฐานของการใช้รถไฟฟ้า มีดังนี้

  • นำรถยนต์เข้ารับการตรวจสอบการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ตรวจเช็กสภาพแบตเตอรี่และระบบไฟเป็นประจำ เช่น คอยสังเกตดูว่ารถยนต์มีการทำงานที่ผิดปกติ หรือมีระบบไหนที่มีปัญหาในการทำงานหรือไม่ และไม่ควรดัดแปลงระบบการชาร์จไฟที่นอกเหนือจากคำแนะนำของผู้ให้บริการติดตั้ง
  • หลีกเลี่ยงการจอดรถตากแดดหรือในสถานที่ที่มีความร้อนสูง เพราะส่งผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่
  • ไม่ควรละเลยการนำรถเข้าศูนย์เช็กระยะตามกำหนด เพราะการเข้าศูนย์ช่วยให้รู้ข้อบกพร่องหรือจุดที่มีปัญหาในระบบเครื่องยนต์ เพื่อหาทางแก้ไขที่รวดเร็วก่อนจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่

7. เลือกผู้ให้บริการติดตั้งจุดชาร์จที่น่าเชื่อถือ

นอกจากแบรนด์รถยนต์แล้ว การติดตั้ง EV Charger ภายในที่พักอาศัยก็ต้องเลือกแบรนด์และผู้ให้บริการติดตั้งที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะการชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับรถ EV ต้องมีค่าความต่างศักย์ที่เหมาะสม หากชาร์จไฟเข้าโดยไม่มีหัวแปลงไฟหรือขาดความเข้าใจในระบบชาร์จไฟฟ้าเบื้องต้น ย่อมส่งผลเสียต่อรถไฟฟ้าได้ นอกจากนี้การเสียบไฟบ้านเพื่อชาร์จรถไฟฟ้าในไทยต้องมีการทำเรื่องขออนุญาตกับทางการไฟฟ้า เพื่อติดตั้งหม้อแปลงสำหรับจ่ายกระแสไฟ รวมถึงปรับเปลี่ยนสายไฟให้เพียงพอเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานด้วย

บริษัทรับติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า np equipment

ณัฐภูมิ อีควิปเม้นท์ รับติดตั้ง EV Charger ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ด้วยทีมงานมืออาชีพ  

การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านเป็นทางเลือกที่สะดวกและประหยัดสำหรับผู้ที่มีรถไฟฟ้า หรือกำลังมีแผนจะซื้อรถ EV ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งที่ Nutthaphume Equipment เราคือผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ดำเนินธุรกิจมามากกว่า 40 ปี ที่มีอุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์ และระบบ EV Charger จัดจำหน่ายอย่างครบครัน อีกทั้งยังสามารถเข้าติดตั้งโดยทีมงานมืออาชีพ ที่มีความเข้าใจในงานติดตั้งสูง เพื่อให้คุณได้เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าได้เหมาะกับความต้องการและการใช้งานที่คุ้มค่าและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 06-5946-4765 หรือคลิก ติดต่อเรา

ผลิตภัณฑ์ของ ณัฐภูมิ อีควิปเม้นท์

<p>ระบบโซลาร์เซลล์</p>

ระบบโซลาร์เซลล์

<p>เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า</p>

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

<p>อุปกรณ์ไฟฟ้า</p>

อุปกรณ์ไฟฟ้า